วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วิชา กฎหมายปกครอง LA 732 ชุดที่ 1-9

วิชา กฎหมายปกครอง LA 732 ชุดที่ 1-9
โดย อาจารย์ฐิติพร ลิ้มแหลมทอง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
- หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศ
- หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
- ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐกับประชาชน
กฎหมายปกครอง
- หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งและการดำเนินงานขององค์กรต่าง ๆ ของรัฐ
- ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐกับประชาชน
หลักการพื้นฐานในกฎหมายปกครอง
1. หลักนิติรัฐ “รัฐที่ต้องยอมตนอยู่ใต้ระบบกฎหมายในความสัมพันธ์กับปัจเจกชน”
สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ได้รับความคุ้มครอง
1. สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลโดยแท้
2. สิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจ
3. สิทธิเสรีภาพทางการเมือง
หลักนิติรัฐมีสาระในทางกฎหมายปกครอง ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย
2. กฎหมายต้องบัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลอย่างเสมอภาค
หลักความเสมอภาค
ก. เมื่อมีบทกฎหมายให้อำนาจแก่ฝ่ายปกครอง ที่จะออกกฎข้อบังคับวางระเบียบเป็นการทั่วไป ฝ่ายปกครองจะงดเว้นไม่ออกกฎข้อบังคับเช่นนั้น และพิจารณาออกคำสั่งเฉพาะกรณีเป็นรายๆ ไปไม่ได้
ข. บทกฎหมายหรือข้อบังคับอย่างอื่น ๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจกฎหมายย่อมมีผลบังคับฝ่ายปกครองเช่นเดียวกับเอกชน
ค. ฝ่ายปกครองจะต้องเคารพต่อหลักเสมอภาคแม้แต่ในกรณีที่กฎหมายให้อำนาจฝ่ายปกครองที่จะใช้ดุลพินิจได้
3. หากมีกฎหมายให้อำนาจฝ่ายปกครองใช้ดุลพินิจ ฝ่ายปกครองต้องใช้ดุลพินิจในกรอบแห่งกฎหมาย
4. ศาลมีอำนาจที่จะควบคุมตรวจสอบว่าการกระทำทางปกครองว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่


2. หลักการว่าการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย
ก. กฎหมายเป็นแหล่งที่มาของอำนาจ หรือหลักความมาก่อนของกฎหมาย
ข. กฎหมายเป็นข้อจำกัดของอำนาจ หรือหลักเงื่อนไขของกฎหมาย
ลักษณะของกฎหมายที่ให้อำนาจฝ่ายปกครองกระทำการ
1. กฎหมายต้องมีลักษณะทั่วไป
2. กฎหมายต้องมีความแน่นอนชัดเจน
3. กฎหมายต้องไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลัง
4. กฎหมายต้องไม่ชัดหรือแย้งต่อหลักแห่งความได้สัดส่วน
5. กฎหมายต้องไม่กระทบกระเทือนต่อสารัตถะของสิทธิและเสรีภาพ
3.หลักการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองโดยองค์กร ตุลาการ
เหตุผล
1. มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่
2. ศาลมีหน้าที่ต้องพิจารณาและพิพากษาคดีเสมอ
3. วิธีพิจารณาคดีของศาลเป็นไปโดยเปิดเผย
4. ศาลต้องให้เหตุผลประกอบคำพิพากษาเสมอ
กิจกรรมของฝ่ายปกครอง
1.บริการสาธารณะ 2.การรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม
3. ความมั่นคงปลอดภัย 4. ความสงบสุข
5. สุขอนามัย
เครื่องมือในการจัดทำกิจกรรมของฝ่ายปกครอง
1. มาตรการทางกฎหมาย 2. บุคลากรของรัฐ 3. ทรัพย์สินของรัฐ
การกระทำทางปกครอง
1. นิติกรรมทางปกครอง 2. ปฏิบัติการทางปกครอง
การกระทำทางปกครอง
- การกระทำของรัฐที่มิใช่การกระทำทางนิติบัญญัติหรือทางตุลาการ
- มีการใช้อำนาจเหนือโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (การสั่งการฝ่ายเดียว)
การกระทำทางปกครอง
ผลิตผล(product)ของการใช้อำนาจตามกฎหมายของฝ่ายปกครอง




รูปแบบของการกระทำของฝ่ายปกครอง



การกระทำในทางข้อเท็จจริง การกระทำที่มุ่งผลในทางกฎหมาย




ระบบกฎหมายปกครอง ระบบกฎหมายเอกชน


ปฏิบัติการทางปกครอง นิติกรรมทางปกครอง สัญญาทางแพ่ง



สองฝ่าย ฝ่ายเดียว


สัญญาทางปกครอง มีผลเป็นการทั่วไป มีผลเฉพาะกรณี

กฎ คำสั่งทางปกครอง






ปฏิบัติการทางปกครอง
การปฏิบัติการเพื่อให้ภารกิจทางปกครองบรรลุผลได้ในทางข้อเท็จจริง ไม่ได้มุ่งหมายก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในนิติสัมพันธ์ทางปกครองแต่อย่างใด
ฝ่ายปกครอง
- หน่วยงานของรัฐ
- เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครอง
- องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ (เฉพาะที่กระทำโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ)
- หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ
การกระทำการในฐานะเป็นฝ่ายปกครอง
ทฤษฎีที่ 1
พิจารณาจากลักษณะของการกระทำมีลักษณะเป็นการกระทำทางการเมืองหรือการกระทำที่เป็นงานประจำ
ทฤษฎีที่ 2
พิจารณาจากลักษณะของอำนาจกระทำการเป็น “อำนาจดุลพินิจ” หรือ “อำนาจผูกพัน”
ทฤษฎีที่ 3
พิจารณาจากกฎหมายที่เป็นแหล่งที่มาของอำนาจกระทำการ อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญหรืออำนาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับเสมอกับพระราชบัญญัตินี้
นิติกรรมทางปกครองฝ่ายเดียว
1. การแสดงเจตนาให้ปรากฏต่อบุคคลคนหนึ่งหรือบุคคลคณะหนึ่งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ
2. ต้องเป็นเจตนาก่อให้เกิดผลทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
3. ก่อนิติสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐฝ่ายบริหาร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐกับบุคคลหรือคณะบุคคลที่รับการแสดงเจตนา
4. เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว โดยที่ไม่จำต้องให้ความยินยอม
คำสั่งทางปกครอง
1. เป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่
2. เป็นการใช้อำนาจรัฐ(อำนาจฝ่ายปกครอง)



การพิจารณาการใช้อำนาจทางปกครองของฝ่ายปกครอง
1. ด้านองค์กร
2. ด้านเนื้อหา
3. ด้านรูปแบบ
4. เป็นการกำหนดสภาพทางกฎหมาย
5. เกิดผลเฉพาะกรณี
6. มีผลภายนอกโดยตรง
คำสั่งทางปกครอง
1.รูปธรรม
2. มีผลบังคับเฉพาะกรณี
กฎ
1.นามธรรม
2.มีผลบังคับทั่วไป
คำสั่งทางปกครอง
1.รูปธรรม มีผลเฉพาะกรณี
2.นามธรรม มีผลเฉพาะกรณี
คำสั่งทั่วไปทางปกครอง 1.รูปธรรม มีผลทั่วไป

ระเบียบภายในฝ่ายปกครอง
1. การจัดองค์กรและการดำเนินการขององค์กรภายใน
2. แนวทางในการตีความกฎหมาย
3. แนวทางการใช้ดุลพินิจ
4. แนวทางการปฏิบัติงานกรณีไม่มี ก.ม.

การมีผลในทางกฎหมายของระเบียบภายใน
1. ผลผูกพันภายในฝ่ายปกครอง
2. ผลผูกพันต่อบุคคลภายนอก



ชุดที่ 2
สาระสำคัญของกฏหมายปกครอง
1. สาขาของกฎหมายมหาชน
2. วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครอง
3. วางระเบียบเกี่ยวกับบริการสาธารณะ และวิธีจัดทำบริการสาธารณะ
4. วางหลักความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชน
หลักความเสมอภาค
1. เมื่อมีบทกฎหมายให้อำนาจแก่ฝ่ายปกครอง ที่จะออกกฎข้อบังคับวางระเบียบเป็นการทั่วไป ฝ่ายปกครองจะงดเว้นไม่ออกกฎข้อบังคับเช่นนั้น และพิจารณาออกคำสั่งเฉพาะกรณีเป็นรายๆ ไปไม่ได้
2. บทกฎหมายหรือข้อบังคับอย่างอื่น ๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจกฎหมายย่อมมีผลบังคับฝ่ายปกครองเช่นเดียวกับเอกชน
3. ฝ่ายปกครองจะต้องเคารพต่อหลักเสมอภาคแม้แต่ในกรณีที่กฎหมายให้อำนาจฝ่ายปกครองที่จะใช้ดุลพินิจได้
การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ มี 2 รูปแบบ
1. อำนาจผูกพัน คือ อำนาจหน้าที่ที่ฝ่ายปกครองต้องปฏิบัติ เมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใด เกิดขึ้นตามที่กฎหมายเรื่องนั้นได้บัญญัติกำหนดไว้ล่วงหน้า
2. อำนาจดุลพินิจ คือเสรีภาพที่กฎหมายให้แก่ฝ่ายปกครองในอันที่จะตัดสินใจว่าในกรณีเฉพาะเรื่องกรณีใดกรณีหนึ่ง สมควรเลือกคำสั่งใดในบรรดาคำสั่งหลายๆอย่างที่แตกต่างกันออกไป ที่ตนเห็นว่าสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามความมุ่งหมายแห่งอำนาจหน้าที่ของตนได้ดีที่สุด
ความหมายของฝ่ายปกครอง
1. หน่วยงานของรัฐฝ่ายบริหาร
2. องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครอง
3. องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ
4. หน่วยงานอิสระของรัฐ
หลักการพื้นฐานในกฎหมายปกครอง
1. หลักนิติรัฐ
“รัฐที่ต้องยอมตนอยู่ใต้ระบบกฎหมายในความสัมพันธ์กับปัจเจกชน”


หลักนิติรัฐมีสาระในทางกฎหมายปกครอง ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย
2. กฎหมายต้องบัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลอย่างเสมอภาค
3. หากมีกฎหมายให้อำนาจฝ่ายปกครองใช้ดุลพินิจ ฝ่ายปกครองต้องใช้ดุลพินิจในกรอบแห่งกฎหมาย
4. ศาลมีอำนาจที่จะควบคุมตรวจสอบว่าการกระทำทางปกครองว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
2. หลักการว่าการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย
3. หลักการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองโดยองค์กร ตุลาการ
4. หลักความพอสมควรแก่เหตุ หรือ หลักความได้สัดส่วน
ก. หลักสัมฤทธิผล หรือ หลักเหมาะสม
ข. หลักความจำเป็น
ค. หลักความพอสมควรแก่เหตุในความหมายอย่างแคบ
5. หลักความชัดเจนแน่นอนและคาดหมายได้จากการกระทำทางปกครอง
6. หลักการห้ามเลือกปฏิบัติโดยอำเภอใจ
7.หลักความคุ้มครองความเชื่อถือและไว้วางใจ
8. หลักคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ














ชุดที่ 3
คำสั่งโยกย้ายข้าราชการในระบบกฎหมายเยอรมัน
1. เป็นคำสั่งทางปกครอง
1.1 หมายถึงการที่ข้าราชการได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในขอบเขตของงานภาระหน้าที่อื่น ณ ตำแหน่งอื่น (Versetzung) หรือ
1.2 หมายถึงการมอบหมายให้ข้าราชการไปปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราวในงานหรือภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่สอดคล้องเหมาะสมกับตัวข้าราชการ ณ ตำแหน่งอื่น (Abordnung)
2. เป็นคำสั่งภายในของผู้บังคับบัญชา (Umsetzung) ไม่มีกฎหมายรองรับไว้โดยตรง แต่อาศัยอำนาจบังคับบัญชา
คำสั่งโยกย้ายข้าราชการในระบบกฎหมายฝรั่งเศส
ประเภทของคำสั่งโยกย้ายข้าราชการ
1. ตามคำร้องขอของข้าราชการ
2. โดยผู้บังคับบัญชาริเริ่มสั่งการเอง
2.1 เพื่อประโยชน์ของหน่วยงาน
2.2 เพื่อลงโทษทางวินัยข้าราชการ
2.3 เพื่อประโยชน์ของหน่วยงานโดยมีเหตุพิจารณาที่ตัวข้าราชการ
พิจารณาผลของคำสั่ง
-มีผลจำกัดเพียงเป็นการเปลี่ยนแปลงภาระหน้าที่ตามนโยบายการจัดองค์กรภายในหน่วยงาน เป็น “มาตรการภายในของฝ่ายปกครอง”
-มีผลกระทบต่อสิทธิและหลักประกันของสถานภาพของข้าราชการ อำนาจ หรือสิทธิประโยชน์ทางการเงิน เป็น “คำสั่งทางปกครอง”
การเปลี่ยนแปลงในสถานภาพของข้าราชการ
-ลดอำนาจหน้าที่ลง
- ลดอำนาจบังคับบัญชาลง
- ลดระดับภาระความรับผิดชอบลง
- ลดสิทธิประโยชน์ทางการเงินลง




ชุดที่ 4

ความรับผิดของรัฐ
1. สัญญา
2. กฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้
3. ละเมิด

หลักเดิม - รัฐไม่ต้องรับผิด
1.ความไม่ต้องรับผิดของอำนาจมหาชน
2.หลักประกันของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

นักกฎหมายชาวฝรั่งเศส ลาแฟรีแอร์ (Laferriere)
“จะเป็นความผิดของหน่วยงาน ถ้าการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นมีลักษณะไม่เจาะจงแสดงให้เห็นถึงความผิดของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองคนหนึ่งหรือมากกว่านั้น แต่จะเป็นความผิดส่วนตัว ถ้าความผิดนั้นแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอ ตัณหา ความประมาทเลินเล่อของมนุษย์”

ความผิดส่วนตัว
1. ความผิดที่กระทำนอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่
2. ความผิดที่กระทำลงในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่เลย
3. ความผิดที่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ความผิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่
1. กรณีที่มีการปฏิบัติราชการโดยไม่ชอบ
2. กรณีที่มิได้มีการปฏิบัติหน้าที่ที่จะต้องกระทำ
3. กรณีที่มีการปฏิบัติราชการล่าช้ากว่าที่ควร

ความผิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่
“ไม่มีการปฏิบัติหน้าที่ใดที่เป็นความผิดกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มต้น สิ่งเหล่านั้นเป็นการกระทำผิดส่วนตัวทั้งสิ้น”

ระบบความรับผิดของฝ่ายปกครองในประเทศฝรั่งเศส
1. ระบบความรับผิดโดยมีความผิด/ระบบความรับผิดในกรณีกระทำละเมิด
2. ระบบความรับผิดโดยไม่มีความผิด/ระบบความรับผิดในกรณีไม่ได้กระทำละเมิด/ระบบเสี่ยงภัย

ความแตกต่าง
ระบบความรับผิดกรณีมีความผิด ผู้เสียหายต้องนำสืบว่าการกระทำนั้นมีลักษณะที่เป็นความผิด*
ระบบความรับผิดกรณีไม่มีความผิด ผู้เสียหายนำสืบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล*

หลักกฎหมายทั่วไปสำหรับระบบความรับผิดในกรณีไม่มีความผิด
-หลักการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชาติ
-หลักความเสมอภาคของเอกชนต่อภาระสาธารณะ

ความรับผิดในกรณีไม่มีความผิดจากแนวคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดฝรั่งเศส
1. ความเสียหายที่เกิดจากงานโยธาสาธารณะ
2. ความเสียหายที่เกิดจากสิ่งอันตราย
3. ความเสียหายที่เกิดจากกิจการที่เป็นอันตราย
4. ความเสียหายที่เกิดกับเจ้าหน้าที่สาธารณะ

ลักษณะความเสียหาย
1. เกิดจากการกระทำของฝ่ายปกครอง
2. ความเสียหายที่แน่นอน
3. ความเสียหายที่เกินปกติ
4. เกิดเฉพาะบุคคล ไม่ใช่ทั่วไป
5. ความเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้
6. เป็นเรื่องที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง
ความรับผิดในกรณีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ
1. ระบบยกเว้นความรับผิดรัฐ
2. ระบบที่ขยายความรับผิดของรัฐให้มากขึ้น
3. ระบบที่ให้รัฐรับผิดแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐ

หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
ละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่
จนท. & หน่วยงาน ฟ้องหน่วยงานเท่านั้น ม. 5 , 11
จนท & เอกชน ฟ้องหน่วยงานเท่านั้น ม. 5 , 11

ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิด
1.ประมาทธรรมดา-ไม่ต้องรับผิด
2. จงใจหรือประมาทร้ายแรง-มาตรา 8

ละเมิดทางปกครอง
1. เจ้าหน้าที่
2. ปฏิบัติหน้าที่
3. เกิดความเสียหาย
4. เขตอำนาจศาล

หลักเกณฑ์ละเมิดทางปกครอง ตามมาตรา 9 (3)
1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
2. เกิดความเสียหายอันเนื่องจาก
ก. การใช้อำนาจตามกฎหมาย
ข. การออกกฎ หรือคำสั่งทางปกครอง
ค. การละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
ง. การปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร

แนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
*ไม่ใช่ละเมิดที่เกิดจากการดำเนินคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ.
*การละเมิดระหว่างเอกชน หรือละเมิดที่เป็นเรื่องส่วนตัวของเจ้าหน้าที่
*ไม่ใช่ละเมิดจากการใช้อำนาจหรือการดำเนินกระบวนการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งศาลยุติธรรม


ชุดที่ 5
หลักความโปร่งใสในทางปกครอง La transpearence administrative
1. สิทธิที่จะรู้ 2.สิทธิที่จะเข้าใจ 3. สิทธิที่จะถูกรับฟัง 4. สิทธิที่จะวิจารณ์ 5. สิทธิได้รับแจ้ง

ชุดที่ 6
รัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 58
“บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชนหรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”

ขอบเขตความคุ้มครอง
1. ข้อมูลข่าวสารต้องเป็นข้อมูลสาธารณะ
2. อยู่ในครอบครองของหน่วยงานของรัฐ

รัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 34
“สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง
การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียงหรือความเป็นอยู่ส่วนตัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน”

สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
1. หลักสิทธิมนุษยชน
2. หลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย
3. สิทธิขั้นพื้นฐานตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ




*กฎหมายข้อมูลข่าวสารของทางราชการ Freedom of Information Act 1966
*กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Act 1974
*ข้อมูลข่าวสาร (record) ข้อมูลใด ๆ ที่เป็นข้อมูลของหน่วยงานของรัฐ
*กฎหมายข้อมูลข่าวสารของฝรั่งเศส Loi n 78-753 du 17 juillet 1978
*เอกสารของราชการ ได้แก่ ข้อมูล รายงาน การศึกษาวิจัย สรุปผลการดำเนินงาน รายงานการประชุม สถิติ คำสั่ง ระเบียบหนังสือเวียน บันทึก คำตอบของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐที่เกี่ยวกับการตีความ
กฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น รายละเอียดการดำเนินการกระบวนพิจารณาปกครอง ความเห็นของหน่วยงานรัฐ ฯลฯ

ประเภทของข้อมูลข่าวสาร
1. ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยเป็นการทั่วไป (มาตรา 7 มาตรา 9 และมาตรา 11)
2. ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย (มาตรา 14 และมาตรา 15)
3. ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล (มาตรา 24)

















ชุดที่ 7
กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาทางปกครอง (VwVFG) มาตรา 35 ประโยคที่สอง
ลักษณะคำสั่งทั่วไปทางปกครอง
เป็นคำสั่งทางปกครอง แต่มิได้มีผลกระทบต่อบุคคลหนึ่งบุคคลหนึ่งเฉพาะเจาะจง หากรวมถึงบุคคลรับคำสั่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีจำนวนไม่แน่นอน แต่เจ้าหน้าที่ได้ออกคำสั่งนั้นเนื่องจากมีเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่แน่นอนเกิดขึ้นในเวลาใดเวลาหนึ่ง

ประเภทของคำสั่งทั่วไปทางปกครอง
1. คำสั่งทั่วไปทางปกครองที่เกี่ยวข้องกับบุคคลผู้รับคำสั่ง
กรณีชี้ชัดให้เห็น “กลุ่มบุคคล” ผู้รับคำสั่งทางปกครองได้ โดยเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่อง เช่น ผู้ครอบครองอาคารทั้งหมด ผู้สัญจรบนถนนทั้งหมด
2. คำสั่งทั่วไปทางปกครองที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน
กรณีมิได้มีไปยังบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ หากแต่มีความเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงถึงทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ตัวทรัพย์สินเป็นวัตถุของคำสั่ง) เช่นทางหลวงแผ่นดิน ทางเดินเท้าขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (มีผลต่อบุคคลโดยอ้อม)
3. คำสั่งทั่วไปทางปกครองที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพย์สิน
กรณีเน้นเรื่องการใช้ทรัพย์สินดังกล่าว โดย มีข้อความที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ของส่วนรวม(บุคคลจำนวนที่ไม่แน่นอน) เกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของหน่วยงานรัฐ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้อาคารสถานที่











ชุดที่ 8

ผลของคำสั่งทางปกครอง
1. ต่อองค์กรเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครอง
2. ต่อบุคคลผู้รับคำสั่งทางปกครอง
3. ต่อบุคคลที่สาม
4. ต่อศาลปกครอง
5. ต่อองค์กรฝ่ายปกครองอื่น

ผลบังคับเด็ดขาด เป็นที่สุด
1. สละสิทธิอุทธรณ์
2. ศาลยกฟ้อง และคดีถึงที่สุด
3. กฎหมายบัญญัติไว้
4. พ้นระยะเวลาอุทธรณ์

การสิ้นผลของคำสั่งทางปกครอง
1. โดยองค์กรฝ่ายปกครอง
ก. การอุทธรณ์ ข. การเพิกถอน
2. โดยองค์กรตุลาการ
3. โดยเงื่อนเวลา
4. โดยเหตุอื่น

ความแตกต่างนิติกรรมโมฆียะ กับ คำสั่งทางปกครองที่เพิกถอนได้
1. การคุ้มครองสิทธิแก่ฝ่ายที่เสียเปรียบ
2. การเพิกถอน
3. ผลทางกฎหมาย




คำสั่งทางปกครองที่เป็นโมฆะ (มาตรา 44 กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองของเยอรมัน)
1. เป็นกรณีที่มีความผิดพลาดอย่างร้ายแรงมากจนเห็นได้ชัด
2. เป็นกรณีเฉพาะ ดังนี้
ก. ไม่แสดงออกว่าโดยเจ้าหน้าที่ผู้ใด
ข. มิได้ทำตามแบบ
ค. ไม่มีอำนาจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเกี่ยวกับสถานที่
ง. เป็นไปไม่ได้โดยสภาพข้อเท็จจริง
จ. ฝ่าฝืนกฎหมายอาญา
ฉ. ขัดต่อศีลธรรมอันดี
3. กรณีผู้มีคำขอและเจ้าหน้าที่อนุญาตเป็นบุคคลคนเดียวกัน

การบัญญัติคำศัพท์ที่แตกต่างกัน
การเพิกถอน (retrait) หรือ (rucknahme) : ย้อนหลังไปตั้งแต่ต้น
การยกเลิก (abrogation) หรือ(widderuf) : มีผลในอนาคตตั้งแต่วันที่ยกเลิก

เหตุเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
1. เหตุภายนอก
1.1 ไม่มีอำนาจ
ก. เนื้อหาสาระ
ข. เขตแดน
ค. เงื่อนเวลา
1.2 การกระทำที่ผิดขั้นตอน
1.3 การกระทำผิดแบบ
2. เหตุภายใน
2.1 การบิดเบือนอำนาจ
ก. มีวัตถุประสงค์เฉพาะบุคคล ข. มีจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากที่ กม. กำหนด




หลักการพื้นฐานในการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
1. หลักความชอบด้วยกฎหมายปกครอง
2. หลักความมั่นคงแห่งสิทธิ
3. หลักความคุ้มครองความเชื่อถือหรือความไว้วางใจโดยสุจริตของประชาชน

2. การละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย
ก. เนื้อหาของการกระทำ
ข. มูลเหตุของการกระทำ
1) การควบคุมมูลเหตุทางข้อเท็จจริงว่ามีอยู่หรือไม่
2) การควบคุมมูลเหตุทางกฎหมายและคุณสมบัติทางข้อเท็จจริง
3) การควบคุมความชอบด้วยกฎหมาย
4) การควบคุมความผิดพลาดอย่างชัดแจ้ง

หลักการได้สัดส่วนตามความหมายอย่างกว้าง
1. หลักความสัมฤทธิ์ผล หรือความสามารถบรรลุผล
2. หลักความจำเป็น
3. หลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ

หลักความสัมฤทธิ์ผล หรือความสามารถบรรลุผล
มาตรการที่อาจทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้

หลักความจำเป็น
มาตรการหรือวิธีการที่เหมาะสมที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

หลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ
มาตรการอันหนึ่งอันใดจะต้องอยู่ในขอบเขตของความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างวิธีการและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้



ชุดที่ 9
บทบัญญัติข้อ 39 ของ Magna Charta No free man shall be taken,imprisoned,
outlawed,banished or in any destroyed, nor will we proceed against or prosecute
him,except by the law of land None shall be condemned without trail,
also,that no man,of whatever estate or condition that he be,shall be put out of
land or tenement,nor imprisoned,nor disinherited,not but to death,without
being brought to answer by due process of law

หลักความยุติธรรมตามธรรมชาติ natural justice
-ไม่มีบุคคลใดจะเป็นผู้วินิจฉัยในข้อพิพาทของตนเองได้ (nemo judex in re sua)
-การรับฟังข้อเท็จจริงจากคู่ความทั้งสองฝ่าย (audi alturam partem)

หลักส่วนได้เสียของเจ้าหน้าที่
1 การมีส่วนได้เสียทางด้านการเงิน
2. สถานการณ์ที่อาจทำให้เกิดอคติ

ข้อยกเว้นของหลักส่วนได้เสีย
1. กรณีจำเป็น
2. กรณีกฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้
3. กรณีบุคคลที่ถูกกระทบสิทธิสละสิทธิ
เจ้าหน้าที่ที่ไม่สามารถพิจารณาทางปกครองได้
1. ความสัมพันธ์ทางส่วนตัว
* คู่กรณี
* คู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี
* เครือญาติ (ความสัมพันธ์ทางสายโลหิต
* เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้พิทักษ์ผู้อนุบาล ผู้แทน ตัวแทนของคู่กรณี
* ทนายความของคู่กรณี
* เจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือเป็นนายจ้างหรือลูกจ้าง
* เป็นปรปักษ์กับคู่กรณี

2. พฤติการณ์ที่ชวนสงสัย
ข้อพิจารณา
1. พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดอคติอย่างแท้จริง real likelihood of bias
2. พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นอาจทำให้วิญญูชนสงสัยว่าอาจเกิดอคติขึ้นภายในใจ
reasonable suspicion of bias
3. พฤติการณ์ที่ชวนสงสัย
* กรณีมีผลประโยชน์ทางการเงิน
* กรณีเป็นทั้งผู้กล่าวหาและผู้วินิจฉัย
* กรณีมีความสัมพันธ์ทางการเมือง
* กรณีมีความโน้มเอียงที่จะวินิจฉัยให้เป็นเป็นไปตามนโยบายกระทรวง
4. พฤติการณ์ที่ชวนสงสัย
*กรณีได้แสดงความคิดเห็นล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งต่อสาธารณชนว่าจะวินิจฉัยอย่างไร
* กรณีเป็นพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์หรือเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญพิเศษเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวินิจฉัย
* กรณีได้เคยพิจารณาและวินิจฉัยเรื่องเดียวกันนั้นมาแล้ว

หลักส่วนได้เสียของเจ้าหน้าที่ ในระบบกฎหมายเยอรมัน
ม. 20 ของ VwVfG
1. เป็นคู่กรณีเอง
2. ผู้ที่มีความเกี่ยวพันหรือเป็นญาติของคู่กรณี
3. ผู้ที่กระทำการแทนคู่กรณี
4. ผู้ที่มีความเกี่ยวพันหรือเป็นญาติของผู้แทนคู่กรณี
5. ลูกจ้างหรือผู้ที่ทำงานให้แก่คู่กรณีโดยได้รับค่าตอบแทน กรรมการในคณะกรรมการบริหารหรือตำแหน่งคล้ายคลึงกันของคู่กรณี
6. ผู้ที่เคยให้ความเห็นหรือกระทำการอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พิจารณาซึ่งไม่ใช่กระทำการตามตำแหน่งหน้าที่
ม. 21 ของ VwVfG
เหตุที่อาจก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจในความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่



หลักการรับฟังข้อเท็จจริงจากคู่ความ Administrative Procedure Act 1946 ของ U.S.A
ม.7(c) “ คู่กรณีทุกฝ่ายมีสิทธิที่จะแสดงข้อกล่าวหาหรือข้อแก้ต่างของตน โดยแสดงพยานหลักฐานด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร และมีสิทธิที่ซักค้านเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงโดยสมบูรณ์”

หลักการรับฟังข้อเท็จจริงจากคู่ความ
แจ้งคำบอกกล่าวมีข้อความชัดเจน เวลา สถานที่ ให้มีเวลาเตรียมตัวอย่างเพียงพอ
* สิทธิที่จะทราบถึงสิทธิที่ตนมีอยู่
* สิทธิที่จะทราบถึงลักษณะคดีที่จะต้องเผชิญ
* สิทธิที่จะทราบถึงกำหนดการพิจารณาคดี

ข้อยกเว้นการรับฟังในระบบ common law
* กฎหมายบัญญัติไว้
* ความจำเป็นรีบด่วนเพื่อรักษาความปลอดภัยและเพื่อความสงบสุขของสาธารณชน
* การวินิจฉัยในขั้นตระเตรียมที่ยังไม่มีผลกระทบต่อสิทธิ

ข้อยกเว้นการรับฟังในระบบกฎหมายเยอรมัน ม. 28 วรรคสอง VwVfG
1. มีความจำเป็นเพื่อป้องปัดภยันตรายที่มีอยู่เฉพาะหน้า หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ
2. จะทำให้ระยะเวลาในการตัดสินใจของหน่วยงานต้องล่าช้าออกไป
3. เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่คู่กรณีได้ให้ในคำขอหรือคำแถลง
4. กรณีหน่วยงานทางปกครองออกคำสั่งทั่วไปทางปกครอง หรือคำสั่งทางปกครองอย่างเดียวกันจำนวนมาก
5. กรณีเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง
ม. 28 วรรคสาม VwVfG เพื่อประโยชน์สาธารณะที่จำเป็นอย่างยิ่ง

สิทธิต่อสู้โต้แย้งในระบบกฎหมายฝรั่งเศส
1. สิทธิได้รับการแจ้งล่วงหน้า
2. สิทธิได้รับการรับฟัง
3. สิทธิได้รับคำปรึกษาหรือมีผู้แทนทนายความ

ข้อยกเว้นและขอบเขตจำกัด
1. ตามที่กฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้
2. ตามกฤษฎีกาว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ม. 8
การแสดงเหตุผลประกอบคำสั่งทางปกครอง
1. ระบบที่กำหนดไว้เป็นหลักทั่วไปให้ต้องแสดงเหตุผล กรณีที่ไม่ต้องแสดงเหตุผลถือเป็นข้อยกเว้น
2. ระบบที่ถือเป็นหลักทั่วไปว่าไม่จำต้องแสดงเหตุผล เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดว่าต้องกระทำเช่นนั้น
การให้เหตุผลประกอบคำสั่งทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน มาตรา 39 VwVfG
การให้เหตุผลโดยทำเป็นหนังสือหรือโดยรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ ต้องแสดงให้เห็นถึงเหตุผลทางข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่สำคัญ
ข้อยกเว้นการให้เหตุผลประกอบคำสั่ง
1. การวินิจฉัยสั่งการสอดคล้องกับคำร้องขอ
2. เหตุผลเป็นที่รับรู้ได้
3. คำสั่งทางปกครองที่เป็นแบบเดียวกันจำนวนมากหรือที่ออกโดยเครื่องอัตโนมัติ
4. กรณีมีบทบัญญัติเฉพาะกำหนดยกเว้นไว้
5. กรณีคำสั่งทั่วไปทางปกครอง

ระบบกฎหมายฝรั่งเศส คำสั่งทางปกครองที่ไม่เป็นคุณซึ่งต้องแสดงเหตุผล
* คำสั่งทางปกครองที่จำกัดเสรีภาพ
* คำสั่งลงโทษทางวินัย ทางภาษี ทางปกครอง
* คำสั่งทางปกครองที่เงื่อนไขหรือมีภาระจำยอมบางประการ
* คำสั่งทางปกครองซึ่งมีผลเป็นการเพิกถอนหรือยกเว้นคำสั่งทางปกครองก่อนหน้านั้นซึ่งมีลักษณะเป็นการให้สิทธิ
* คำสั่งทางปกครองซึ่งตัดสิทธิของบุคคลอันเนื่องมาจากเรื่องอายุความหรือการที่มิได้ให้สิทธิในกำหนดเวลา
* คำสั่งทางปกครองซึ่งมีเนื้อหาเป็นการปฏิเสธมาให้ประโยชน์แก่บุคคลซึ่งตามที่ควรจะเป็น

****************************